บริการสืบค้น

Custom Search

บ้านโคกสง่า ต.ทรายมูล ชาวบ้านโคกสง่าแต่เดิมมีอาชีพขายยาสมุนไพรควบคู่กับการทำนามาแต่รุ่นปู่ย่าตายาย การขายยาสมุนไพรในสมัยก่อนต้องเดินเท้าไปเร่ขายยาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อปีพ.ศ. 2494 พ่อใหญ่เคน ยงลา หมอยาบ้านโคกสง่าจึงได้คิดหางูเห่ามาแสดงเพื่อเป็นการดึงดูดคนมาดู แทนที่จะต้องเดินไปขายยาในทุกๆ หมู่บ้านเช่นเคย ปรากฏว่าการแสดงประสบความสำเร็จสามารถเรียกคนมาดูได้มากพอสมควร แต่เนื่องจากงูเห่านั้นมีอันตรายมากสามารถพ่นพิษได้ไกลถึง 2 เมตรพ่อใหญ่จึงเปลี่ยนมาใช้งูจงอางแสดงแทนและถ่ายทอดวิชาแสดงงูให้คนในหมู่บ้าน เมื่อว่างเว้นจากการเกษตรชาวบ้านจะรวมกลุ่มเดินทางออกเร่แสดงงูเพื่อขายยาสมุนไพร ส่วนการแสดงที่หมู่บ้านนั้นจะจัดขึ้นบริเวณลานวัดศรีธรรมา และรอบๆ บริเวณก็จะมีการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับงูจงอาง รวมทั้งมีโรงเรือนเพาะเลี้ยงงูจงอางอยู่ด้วย
ปัจจุบันการแสดงงูจงอางบ้านโคกสง่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก ชาวบ้านเกือบทุกหลังคาเรือนจะเลี้ยงงูจงอางไว้ใต้ถุนบ้าน มีการจัดแสดงหลายรูปแบบเพื่อดึงดูดให้คนสนใจยิ่งขึ้น เช่นการแสดงละครงูตามจังหวะเพลง การชกมวยระหว่างคนกับงูจงอางจนชาวบ้านที่มีชื่อเสียงทางการแสดงงูมีฉายาประจำ เช่น กระหร่องน้อย เมืองอีสาน, ทองคำ ลูกทองชัย ฯลฯ
บ้านโคกสง่าอยู่ห่างจากตัวจังหวัดเป็นระยะทาง 49 กิโลเมตร เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2(ถนนมิตรภาพ) ถึงหลักกิโลเมตรที่ 33 เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางไปอำเภอกระนวน ตามทางหลวงหมายเลข 2039 ถึงหลักกิโลเมตรที่ 14 เมื่อสังเกตเห็นป้อมยามตำ

รวจพังทุยทางด้านซ้าย ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนลูกรังผ่านบ้านนางาม วัดสระแก้ว เมื่อถึงสี่แยกที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านแล้วเลี้ยวซ้ายไปประมาณ 600 เมตร จะถึงประตูทางเข้าหมู่บ้าน 
เป็นการพบร่องรอยทางโบราณคดี ยุคสมัยศิลปะทวารวดีที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น ซึ่งความจริงสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่นได้จัดเป็นโบราณสถานที่สำคัญของขอนแก่นไว้นานแล้วแต่เพิ่งจะขุดค้นพบเป็นบางส่วนไปเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2525 พบว่าใต้ดินลึกลงไปจากบริเวณโนนเมืองเป็นร่องรอยถิ่นฐานของสังคมประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งในอดีต
        เมืองโบราณสมัยทวารวดีแห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า โนนเมือง เขตบ้านนาโพธิ์ อำเภอชุมแพ ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 80 กิโลเมตร เดิมทีชาวบ้านเล่าลือสืบต่อกันมาว่าบริเวณเนินดินกว้างที่เรียกว่าโนนเมืองนั้นเป็นเมืองเก่าเมืองโบราณจากการสำรวจของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น พบในเสมาหินทรายศิลปะทวารวดี 3 ใบ ตั้งใกล้เคียงและบนผิวพื้นดินทั่วไปของเนินพบเศษภาชนะดินเผาเหล่านี้มีทั้งชนิดเขียนสีแดง ชนิดลายขูดขีด และลายเชือกทาบ
        ลักษณะของเนินเป็นเนินดินรูปไข่ พื้นที่ประมาณ 170 ไร่ มีคูเมือง 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร


        การขุดค้นของสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 9 ขอนแก่น โดยเปิดหลุมขุด 2 หลุมขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร ได้พบว่าตรงความลึกประมาณ 270 เซนติเมตร เป็นโครงกระดูกมนุษย์ที่มีพิธีฝังศพตามประเพณีโบราณ ที่มีธรรมเนียมการฝังเครื่องมือเครื่องใช้ลงไปพร้อมกับศพ เช่น หม้อและภาชนะดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด ลายเชือกทาบ กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์เช่น กระดูกหมู กระดูกควาย เขากวาง และกระดองเต่าใกล้กับโครงกระดูกด้วย สำหรับหลุมแรกพบโครงกระดูกจำนวน 5 โครงและหลุมที่ 2 จำนวน 2 โครง  อย่างไรก็ดี ขณะนี้เพียงสันนิษฐานว่าโครงกระดูกมนุษย์ที่ขุดค้นพบน่าจะเป็นคนในยุคสมัยทวารวดีจนกว่าจะมีการพิสูจน์ วิเคราะห์ตามหลักวิชาการที่ถูกต้องด้านโบราณคดีต่อไปในภายหลัง

ตั้งอยู่บริเวณวิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ (12 สิงหาคม 2535) เพื่อเป็นศูนย์สืบสานพระราชปณิธานงานศิลปาชีพด้านผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ไหมของภาคอีสาน รวมทั้งเป็นศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอีสาน ภายในอาคารจัดแสดงกรรมวิธีการผลิตตั้งแต่มัดย้อมจนถึงวิธีการทอ อุปกรณ์เครื่องใช้เกี่ยวกับไหมและของเก่าแก่ควรอนุรักษ์ รวมถึงผ้าไหมมัดหมี่โบราณลวดลายต่างๆ ที่พิเศษที่สุดคือที่นี่จัดแสดงผ้าไหมมัดหมี่ที่แพงที่สุดในโลกฝีมือชาวอ.ชนบท และเคยชนะการประกวดผ้าไหมของเอเชีย พร้อมทั้งได้รับพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี
ศาลาไหมไทย เปิดให้นักท่องเที่ยวชมทุกวันในเวลาราชการ รายละเอียดติดต่อที่วิทยาลัยการอาชีพขอนแก่น อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น 40180 โทร. 0 4328 6160  www.salamaithai.com

 การเดินทาง จากขอนแก่น ใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-โคราช) 44 กิโลเมตร เลี้ยวขวาที่สี่แยกบ้านไผ่เข้าทางหลวงหมายเลข 229 ไปอีก 11 กิโลเมตร ศาลาไหมไทยอยู่ทางซ้ายมือ (ตรงข้ามกับหนองกองแก้ว หนองน้ำงดงามของอำเภอชนบท)